เรียนพระคัมภีร์กับพี่ซัน

เราเป็นพระฉายาของพระเจ้า แปลว่าอะไร?

2017-08-15

“พระฉายา” เป็นคำที่คริสเตียนใช้กันบ่อยมาก
แล้วมันแปลว่าอะไรกันนะ?

ที่ใช้ๆ กันนี่ มันความหมายเดียวกันหรือเปล่า?

อยากรู้ เลื่อนยาวๆ

Highlights

- พระฉายาของพระเจ้า ทำให้มนุษย์เหนือกว่าลิงจริงหรือ?
- คนไม่เป็นคริสเตียน จะเป็นพระฉายาของพระเจ้าด้วยไหม?

- คืองี้ ตอนแรกเริ่มที่พระเจ้าสร้างมนุษย์ พระเจ้าบอกว่า “มนุษย์เป็นพระฉายาของพระเจ้า” (ปฐก. 1:26)

- และเรามักได้ยินหลายคนอ้างว่า “เราเป็นพระฉายาของพระเจ้า เราจึงเหนือกว่าลิง!”

- การเข้าใจความหมายของคำนี้จริงๆ มันไม่ง่ายเลย เพราะคำนี้ไม่ได้มีการเขียนอธิบายอย่างชัดเจน ในพระคัมภีร์ว่าหมายถึงอะไรกันแน่?
.
.
.
- คำถามแบบนี้ แม้ในวงวิชาการ ก็ยังถกเถียงกันอยู่ ว่าตกลงพระเจ้าหมายถึงด้านไหน?

- หลักๆ แล้วแบ่งความเห็นออกได้เป็น 4 สาย ดังนี้

1.Substantive view

(Substantive = สำคัญ)

- สายนี้มองว่า มนุษย์เป็นสิ่งเดียวที่เป็นพระฉายาของพระเจ้า ก็พระเจ้าไม่ได้เรียกสิ่งอื่นว่าพระฉายาอะ มนุษย์จึงมี “ความสำคัญ” สุดๆ (ปฐก. 1:27)

- ดังนั้น สายนี้เลยเชื่อว่ามนุษย์ “เหนือกว่า” สัตว์อื่นๆ

- สิ่งที่ทำให้มนุษย์เหนือกว่าอย่างชัดเจน คือ “ตรรกะ” เพราะมนุษย์ใช้ชีวิตอย่างมีเหตุมีผล หรือเรียกว่า ฉลาดกว่านั่นเอง

- พวกคนป๊อปๆ ในวงการคริสเตียนอย่าง โธมัส อไควนัส หรือ เซนต์ออกัสติน ก็เชื่อสายนี้นะจ๊ะ

- อย่างไรก็ดี สายนี้ก็ถูกโจมตีไม่น้อย เพราะไม่สามารถตอบบางคำถามได้ เช่น “ลิงชิมแปนซี มันก็ฉลาดนะ มีการพัฒนาความคิดแบบเด็กได้เลยนะ” หรือ “มนุษย์ก็ตัดสินใจไร้ตรรกะกันอยู่บ่อยๆ”

- การมีความคิดตามสายนี้ยังอาจส่งผลเสียให้มนุษย์มี “อีโก้” ได้ด้วย
.
.
.

2.Relational view

(Relational = ความสัมพันธ์)

- สายนี้มองว่า พระเจ้าอยู่ร่วมกันแบบสังคม เพราะ อยู่กัน 3 พระภาค (ปฐก. 1:26)

- ดังนั้น การที่มนุษย์มีความสัมพันธ์กับพระเจ้าและกับมนุษย์กันเอง จึงเป็นการสะท้อนพระฉายาของพระเจ้า

- แกนนำในสายนี้คือ Karl Barth ผู้นำเสนอว่า ปฐมกาลมีเขียนรายละเอียด “ความสัมพันธ์” ของมนุษย์กับพระเจ้า (ปฐก. 2:8-17) กับมนุษย์กันเอง (ปฐก. 2:21-25) และเปาโลยังเขียนถึงเรื่องนี้ด้วยเหมือนกัน (1 คร. 13:12)

- แต่เมื่อมนุษย์ล้มลงในความบาป -> ความสัมพันธ์นี้ก็พังทลาย -> มนุษย์เลยหลุดจากพระฉายาของพระเจ้า

- แต่เดี๋ยวก่อน ตอนนี้พระฉายาในตัวมนุษย์ก็ค่อยๆ ฟื้นขึ้นแล้วนะ ด้วยการคืนดีจากพระเจ้าผ่านพระเยซูคริสต์

- ด้วยเหตุผลทั้งหมดที่พูดมา สายนี้จึงเชื่อว่า คนที่ไม่ใช่คริสเตียนจะไม่มีพระฉายาของพระเจ้า
.
.
.

3. Functional view

(Functional = หน้าที่)

- สายนี้ บอกว่าให้กลับไปอ่าน ปฐก. 1:26 ดีๆ ก่อน แล้วจะพบคำตอบ

- คือ พระคัมภีร์เขียนว่า ให้สร้างมนุษย์ตามพระฉายา เพื่อให้ “ครอบครอง”…

- ดังนั้น การเป็นพระฉายาของพระเจ้า คือ การได้รับ “หน้าที่” ให้ครอบครองสิ่งมีชีวิตอื่นๆ และดูแลโลก

- นั่นหมายถึง การที่มนุษย์ตกในความบาป จึงไม่เสียพระฉายาของพระเจ้าไป เพราะมนุษย์ก็ยังมีหน้าที่ต้องเป็น “ผู้อารักขา” ดูแลโลกนี้ต่อไป

- การที่เรารักษ์โลกใบนี้ จึงเป็นการทำตามพระฉายาของพระเจ้ายังไงละ

- แต่บางคนก็บอกว่าการมองมุมนี้ยังแคบเกินไปอยู่ดี เพราะอิงพระคัมภีร์แค่ข้อเดียวเอง

- งั้นเรามาดูสายสุดท้ายกัน!
.
.
.

4. Dynamic view

(Dynamic = การปรับเปลี่ยน)

- สายนี้มองว่า ไอ้ที่พวกแกพูดๆ กันใน 3 ข้อบนอะ ถ้าให้ต้องเลือกข้อเดียวเลยเนี่ย มันจะแคบเกินไปหน่อยนะ

- ถ้ากลับไปอ่าน ปฐก. 5:3 จะเห็นว่ามีการใช้คำว่า “ฉายา” ในอีกแบบ คือ อาดัมก็มีลูกชายตามอย่าง “ฉายา” ของเขา (ใช้คำเดียวกันเลย)

- เราจึงไม่ควรจำกัดคำว่า “พระฉายา” ว่าจะต้องมีความหมายแบบเดียวเท่านั้น ที่จริงมันอาจจะใช้ได้ในหลายความหมายก็ได้ (อย่างอาดัม ก็ใช้เรียกลูกตัวเอง)

- นอกจากนี้ มนุษย์ยังได้รับเป้าหมาย คือ ให้เป็นเหมือนพระฉายาพระเจ้ามากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ ด้วย (คส.3:10)

- แกนนำสายนี้คือ Marc Cortez นักศาสนศาสตร์รุ่นใหม่ จึงบอกว่า เราควรเปิดกว้างกับความหมายของพระฉายา และการเป็นพระฉายาจึงอาจเป็นบางสิ่งที่ปรับเปลี่ยนไปตามบริบทได้เสมอ
.
.
.
.
- อ่านมาโคดยาว แล้วได้ไรบ้างเนี่ย?

- จะเห็นว่าไม่ว่าน้องจะเลือกเชื่อสายไหน มันก็จะมี “ข้อคิด” ดีๆ ตามมาให้น้องเอาไปใช้ เช่น

• เราควรจะให้เกียรติเพื่อนมนุษย์ (ทุกพระฉายามีความสำคัญ : Substantive)
• เราควรจะอุทิศกับชุมชนที่เราอยู่ (พระฉายาอยู่ร่วมกันด้วยความสัมพันธ์ : Relational)
• เราควรจะอนุรักษ์ธรรมชาติ (พระฉายามีหน้าที่ : Functional)
• หรือทำทั้งหมด (พระฉายาที่ปรับเปลี่ยนตามบริบท : Dynamic)

ปล. ถึงน้องจะเลือกเชื่อแค่สายเดียว ก็ “ไม่ได้” แปลว่า น้องไม่ต้องทำที่เหลือ (สายที่ไม่ได้เชื่อ) นะคร้าบบบ!

สรุป

- นักวิชาการมองว่า ความหมายของ “พระฉายา” พระเจ้า ออกเป็น 4 สาย
1. Substantive view : ความสำคัญ
2. Relational view : ความสัมพันธ์
3. Functional view : หน้าที่ครอบครอง
4. Dynamic view : การปรับเปลี่ยน​

References

ดีงาม มีหลักการชัดเจน
http://whr.idx.com.au/Attachments/Image_of_God_-_essay_by_D_Thompson.pdf

สั้นๆเข้าใจง่าย
https://conformtojesus.com/2015/07/28/what-is-the-image-of-god-in-man/

จริงๆยังมีมุมมองมากกว่านี้อีกนะ อย่างเช่น Anthropomorphites View หรือ Eastern Orthodox View หรือ Socinian View เป็นต้น แต่เนื่องจากแนวคิดเหล่านี้ถูกมองว่าไม่ถูกต้องตามหลักพระคัมภีร์ เลยไม่ได้เขียนไปในบทความ
http://www.cprf.co.uk/articles/imageofgod.htm#.WXhlXoTfrIU

สั้นๆเข้าใจง่าย
https://erlc.com/resource-library/articles/what-does-it-mean-to-be-made-in-gods-image