เรียนพระคัมภีร์กับพี่ซัน

ทำไมพระคัมภีร์มีความย้อนแย้ง?

2017-01-21

ทำไมพระคัมภีร์มีความย้อนแย้ง?

หา!? ย้อนแย้งยังไง?
พระคัมภีร์มีจุดขัดแย้งกันเองด้วยหรอ?

อยากรู้ เลื่อนนิ้วโล่ด

Highlights

- บรรดานักโฆษณาใช้ท่าดึงความสนใจเดียวกันกับพระคัมภีร์
- ประโยคที่ช่วยดึงสติเราได้ดี ควรเป็นประโยคแบบไหน?

- มาเริ่มกันด้วยนิยามกันดีกว่า “ความย้อนแย้ง” คืออะไร?

- ความย้อนแย้ง (Paradox) = “สิ่งที่ขัดแย้งอยู่ในตัวเอง” อาจเป็นคำกับคำ หรือ ประโยคกับประโยคที่ไม่สอดคล้องกัน

- ยกตัวอย่างเช่น
• คนต้นจะเป็นคนปลาย (มธ. 20:16) …ได้ยังไงกัน?
• ผู้ที่โศกเศร้าจะเป็นสุข (มธ. 5:4) …เศร้ากับสุขไปด้วยกันได้ไงฟะ?
• คนบาปกลายเป็นคนชอบธรรม (รม. 3:24) …เราเป็นคนบาปและชอบธรรมในเวลาเดียวกันได้ด้วย?

- แค่นั้นยังไม่พอ พระเจ้ายังเรียกร้องให้เราทำอะไรที่ดูจะย้อนแย้งด้วย เช่น ให้สู้จนตัวตายจะได้ชีวิตรอด (ลก. 17:33) #งงไปอี้ก

- ว่าแต่ ทำไมในพระคัมภีร์หลายตอนชอบใช้ข้อความย้อนแย้ง (Paradox)?

- เวลาเราตั้งคำถาม “ทำไม” กับพระเจ้า คงไม่มีใครรู้คำตอบจริงๆ เพราะพระเจ้าเท่านั้นที่รู้ ดังนั้นสิ่งที่จะตอบต่อไปนี้ เป็นเพียง “มุมมอง” หนึ่งเท่านั้น

- พี่ซันขอเสนอประโยชน์ของความย้อนแย้ง (Paradox) 3 ข้อ ดังนี้ครับ

1. กระชากความสนใจ

- จริงๆ ไม่ใช่แค่พระเยซูเท่านั้นที่ใช้ท่านี้ แต่บรรดานักโฆษณา ผู้สอน นักปรัชญา ก็ชอบใช้ท่า Paradox เช่นเดียวกัน เพราะมันดึงความสนใจได้ดีมาก

- เช่น “จงระวังความว่างเปล่าในความยุ่งเหยิง”
คือฟังเสร็จแล้วโดนกระชากความสนใจให้หันควับ แถมมันยังเกิดคำถามต่อไปว่า มันแปลว่าอะไรกันแน่? นี่กะถามกวนๆ รึป่าว?

- ทำให้ไม่แปลกใจเลย ที่การเปิดตัวคำเทศนาบนภูเขา ที่ต้องบอกว่าเป็นหนึ่งในคำเทศนาที่โด่งดังที่สุดในโลก กระชากความสนใจของคนอย่างอยู่หมัดได้ก็เพราะพระเยซูใช้ท่า Paradox นี่แหละ (มธ. 5:1-12)

2. กระตุ้นให้คิดตามอย่างถี่ถ้วน

- Ethan Longhenry นักเขียนคริสเตียน บอกว่า “Paradox เป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ในการสอน เพราะมันช่วยทำให้ผู้ฟัง ต้องขบคิดในประโยคนั้นๆ”

- พี่ซันเห็นด้วยนะครับ เพราะพอเราอ่าน Paradox จบ จะฉุกคิดก่อนเลยว่า มันไม่มีทางเป็นจริงได้แน่ๆ

- ความคิดนี้จะกระตุ้นให้เราคิดตามอย่างถี่ถ้วนว่าอะไรละที่ทำให้มัน “เป็นจริงไม่ได้”?

- เช่น ผู้ใดอยากเป็นใหญ่ให้ผู้นั้นเป็นคนรับใช้ (มธ. 20:26) พอฟังแบบนี้ปุ๊ป เราก็จะคิดตามต่ออย่างถี่ถ้วนว่า ผู้เป็นใหญ่กับคนรับใช้มันตรงข้ามกันชัดๆ ไม่มีทางเป็นจริงได้ ถ้างั้นแสดงว่านิยามคำว่า “เป็นใหญ่” ที่พระเจ้าให้กับที่โลกเข้าใจต้องไม่เหมือนกันแน่ๆ

- ซึ่งก็ใช่ครับ! เพราะพระเยซูให้นิยามคำว่า “ผู้นำ” ไม่เหมือนกับที่โลกให้ (ลก. 22:25)

- ดังนั้น Paradox เนี่ยแหละ จึงเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยให้เราตีความพระคัมภีร์ได้อย่างถี่ถ้วนมากขึ้น

3. พลิกมุมมองว่าพระเจ้าทำได้

- Paradox ถือเป็นเครื่องมือนึงที่จะช่วยดึงสติเราได้ดี หลายครั้งวิธีการของพระเจ้าไม่เหมือนโลก การใช้ Paradox จึงช่วยพลิกมุมมองของเราจากมุมมองแบบ “โลก” มาเป็นแบบ “พระเจ้า”

- นั่นคือ ให้เห็นความ “เป็นไปได้” ในความ “เป็นไปไม่ได้” ครับ เช่น คนปลายจะมาเป็นคนต้นได้ยังไง? ถ้าเป็นฝ่ายโลกก็คงคิดว่าเป็นไปไม่ได้แน่ แต่ Paradox เนี่ยแหละ ทำให้เราเห็นว่าเพราะพระเจ้าเลยเป็นไปได้ ก็ถ้าพระเจ้าจะยกเกียรติใครพระเจ้าก็ทำได้ (ลก. 1:37) #คนปลายเลยมาเป็นคนต้น ได้นั่นเอง

- อ่านมาถึงจุดนี้ คำถามที่ท้าทายคือ เราจะยังเชื่ออยู่ไหมว่า พระเจ้าทำได้! แม้ในสถานการณ์ที่ดูไม่จริงในความย้อนแย้งเหล่านี้

- หวังว่าครั้งถัดไป ที่น้องอ่านพระคัมภีร์แล้วเจอ “ความย้อนแย้ง” น้องจะอ่านด้วยความสนใจ คิดตามอย่างถี่ถ้วน และเกิดการพลิกมุมมองว่าพระเจ้าทำได้ :)

- แล้วน้องละคิดว่า ทำไมพระเจ้าใช้ประโยคย้อนแย้ง? มาแชร์ความเห็นกัน ใต้โพสต์นี้ได้เลย

สรุป

- พระคัมภีร์หลายตอนมีความย้อนแย้ง (Paradox)
- ประโยชน์ของความย้อนแย้ง คือ
1. กระชากความสนใจ
2. กระตุ้นให้คิดตามอย่างถี่ถ้วน
3. พลิกมุมมองว่าพระเจ้าทำได้

References

ความเห็นของ Ethan Longhenry ต่อ Paradox ในพระคัมภีร์
http://lavistachurchofchrist.org/LVSermons/InTheWorldButNotOfTheWorld.htm

ประโยชน์ของ Paradox ในการสอน
http://www.preachingtoday.com/skills/2005/august/117--hansen.html

ตัวอย่าง Paradox ในพระคัมภีร์
https://www.icr.org/article/18295