บทความนี้ใช้เวลาอ่าน 7 นาที แต่มันอาจเปลี่ยนวิธีการอ่านพระคัมภีร์ของน้องไปตลอดกาล
พี่ซันรู้ว่า น้องหลายคนอาจจะ “ไม่มีเวลา” อ่านหนังสือ ก็เลยสรุปให้ในโพสนี้
- คืองี้ ปีนี้ “กนกบรรณสาร” ออกหนังสือใหม่ชื่อว่า “อ่านพระคัมภีร์อย่างไรให้คุ้มค่า”
- คนในวงการก็โปรโหมตกันหนักมาก อวยกันทั้งบ้านทั้งเมือง ว่าต้องอ่านให้ได้!!
พี่ซันหนึ่งในวงการศึกษาพระคัมภีร์จะพลาดโอกาสนี้ได้อย่างไร ก็เลยรีบคว้ามาอ่านจนจบ
พออ่านจบ… บอกเลยว่า เจ๋งจริง!! คริสเตียนต้องอ่านให้ได้!
- คำเตือน : สรุปนี้ มีการใส่คำพูดและความเห็นส่วนตัวเข้าไปเล็กน้อย เพื่อให้อ่านเข้าใจง่ายขึ้น // พี่ซันแนะนำให้อ่านเล่มจริงถ้ามีโอกาส
- คนอ่านพระคัมภีร์ทุกคนถือเป็น “ผู้ตีความ” โดยปริยายไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม เช่น บางคนบอกว่าจะตีความทำไม? แค่เชื่อสิ่งที่พระคัมภีร์เขียนก็พอ แต่ตัวเขาเองกลับไม่ถือธรรมเนียมจุบบริสุทธิ์ #ความจริงก็คือตีความไปแล้วอยู่ดี
- สิ่งที่คนส่วนใหญ่ทำก็คือ ตอนไหนที่เข้ากับปัจจุบันได้ก็จะตีความตามตัวอักษร อะไรที่เข้าไม่ได้ก็ตีความตามบริบท เช่น
• ห้ามสัก (ลนต. 19:28) ก็ดูเข้ากับธรรมเนียมปัจจุบันดี = พระคัมภีร์ห้ามละกัน
• ห้ามโกนหนวด (ลนต. 19:27) เอ่อ… มันดูล้าสมัยไปหน่อยนะ = พระคัมภีร์ไม่ห้ามละกัน
อย่างงี้ถือเป็นการ #อ่านแบบลำเอียง #อ่านตามใจ
- ดังนั้น จะเห็นได้ว่า การตีความของเราถูกกรอบวัฒนธรรม ประสบการณ์ ทัศนคติ ผสมอยู่ด้วยเสมอ // อะไรที่ผ่านการกรองมาได้ก็จะเป็นหลักการจากพระคัมภีร์ อะไรที่ผ่านไม่ได้ก็จะเป็นเพียงบริบทในอดีต ซึ่ง #ไม่ถูกต้อง
- พระคัมภีร์ที่ถูกแปลมา (ทุกฉบับที่ไม่ใช่ ฮีบรู กรีก อาราเมค) ก็ผ่านการตีความโดยผู้แปลมาแล้วอย่างน้อยครั้งหนึ่ง อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
- การตีความที่ดี = “อ่านความหมายพื้นๆให้เข้าใจ” ไม่ใช่ขุดคุ้ยศาสนศาสตร์ใหม่ๆ
2 ขั้นตอนในการตีความ
1. Exegesis คือการทำความเข้าใจ “บริบท” จินตนาการว่าคนยุคนั้นจะได้ยินอะไร? (ประวัติศาสตร์ ประเภทวรรณกรรม คำที่ใช้) [คือ ขั้นตอน CB ในสูตร CBA นิเอง]
2. Hermeneutics คือการประยุกต์ใช้ให้เป็นบทเรียนในปัจจุบัน [คือ ขั้นตอน A ในสูตร CBA นิเอง]
- ภาษาเดิมในพระคัมภีร์คือ
OT = ฮีบรู + อาราเมค
NT = กรีก
- เราไม่มีต้นฉบับที่เป็นลายมือผู้เขียน เลยสักชิ้นเดียว #ชั้นอยากจะย้ำอีกสักครั้ง #ไม่มีสักชิ้นเดียว
- เรามี “สำเนาต้นฉบับ” ที่ผ่านการคัดลอกด้วยมือ หลายพันฉบับ แต่ไม่มีฉบับใดเหมือนกัน 100%
- วิธีการคือ แปลจากสำเนาต้นฉบับที่มีคุณภาพ (คุณภาพวัดจาก : สำนวนภาษา , แนวโน้มความน่าเชื่อถือ, อายุของสำเนา) แล้วค่อยเปรียบเทียบความแตกต่างกับสำเนาอื่นๆ
- บางสำเนามีการใส่ความคิดเห็นของตัวเองเพิ่มเข้าไป เช่น 1 คร. 6:20 ดังนั้น บางสำเนาจึงไม่ใช่การดลใจของพระวิญญาณบริสุทธิ์แต่อย่างใด
- เรื่องน่าหนักใจของผู้แปลพระคัมภีร์คือ คำบางคำก็หาคำแปลที่ดีไม่ได้เลย เช่น หน่วยวัดค่าเงิน, มุกของคนยิว (แล้วมันจะแปลมาเป็นไทยยังไงฟระ)
- ประโยคในภาษาเดิมบางอัน ก็แปลตรงตัวไม่ได้ ไม่งั้นจะ อ่านไม่รู้เรื่อง+เข้าใจผิด บางครั้งจึงต้องแปลตามความหมายจะตรงกว่า
- ดังนั้นการอ่านพระคัมภีร์ อ่านหลายๆเวอร์ชั่นประกอบ = ดีที่สุด
- ดูตารางเปรียบเทียบแต่ละเวอชั่น (ตรงกับเนื้อหาในหนังสือ) ได้ที่ https://goo.gl/NbhVhk
- มีเรื่องราว 3 ระดับ
1.เรื่องข่าวประเสริฐที่มีต่อมนุษยชาติ (Metanarrative)
2.เรื่องการไถ่ประชาชาติอิสราเอล
3.เรื่องย่อยๆ เช่น อับราฮัม นางรูธ ดาวิด
- ให้เรียนรู้เรื่องราวของพวกเขา แล้ว “ดึงข้อคิด” ไม่ใช่พยายามทำทุกอย่างเหมือนกับที่เขียนในพระคัมภีร์
และ “อย่าอ่านแล้วทำตามโดยไม่คิด”
- 3 จุดที่ควรระวัง
1. อย่าคาดคั้นในการหาข้อคิด เพราะอาจไม่ใช่ทุกตอนจะมีคติสอนใจ บางครั้งมันก็แค่อัพเดทเรื่องราวทางประวัติศาสตร์
2. อย่าตีความเข้าข้างตัวเองคือ การคิดว่าพระเจ้ากำลังตรัสเป็นกรณีพิเศษส่วนตัว เช่น ต้องสร้างโบสถ์หลังใหม่ หลังอ่านนิมิตเรื่องพระวิหาร
3. อย่าใส่วัฒนธรรมปัจจุบันเข้าไป เช่น ดาวิดจุบโยนาธาน ไม่ได้จูบปากเว้ย
(เช่นพวก เลวีนิติ เฉลยธรรมบัญญัติ)
- คริสเตียนไม่จำเป็นต้องรักษาธรรมบัญญัติเดิม อันที่จริงเราก็ทำไม่ได้อยู่แล้ว เพราะเราไม่มีพระวิหาร
- สิ่งที่เราทำได้คือ ดูบริบทในอดีต แล้วกลั่นกรองบทเรียนออกมา
พันธสัญญาใหม่จะมุ่งเน้น “แง่มุม” ที่ปรับใช้ได้กับคริสเตียนทั่วไป มากกว่าพันธสัญญาเดิม (ซึ่งเน้นการสื่อสารถึงคนอิสราเอลในอดีต)
การอ่านพันสัญญาเดิม เป็น “รากฐาน” ของการอ่านพันธสัญญาใหม่
- มีบัญญัติเดิม 2 เรื่องเท่านั้น ที่ถูกนำมารื้อฟื้นเป็นส่วนหนึ่งของธรรมบัญญัติใหม่ด้วย คือ
1. บัญญัติสิบประการ
2. บัญญัติข้อใหญ่ (จงรักพระเจ้า, รักเพื่อนบ้าน)
ที่เหลือคือ เกือบจะจบไปหมดแล้ว
- คำสั่งใน พันธสัญญาเดิม มักเป็นตัวอย่างเพื่อสะท้อนพระลักษณะของพระเจ้า (เช่น จงเหลือข้าวไว้ในทุ่งนา -> เมตตาคนจน) ดังนั้นเวลาอ่านต้องมองหาเจตนารมณ์ที่แฝงอยู่ของพระเจ้า
- อย่าตีความคำต่อคำ มันก็คล้ายๆกับกฎหมายปัจจุบันนี้คือ ต่อให้เขียนตัวอักษรครอบคลุมแค่ไหน ก็ต้องมีผู้พิพากษาตัดสินตีความเจตนาของกฎหมายอีกอยู่ดี
- ฟาริสีตีความพระคัมภีร์แบบคำต่อคำ เขาจึงล้มเหลวในการรักษาธรรมบัญญัติ และโดนพระเยซูตำหนิว่า “ไม่เข้าใจ”
- ธรรมบัญญัติถือว่าล้ำหน้าเรื่องศีลธรรมมาก (ในสมัยนั้น) เมื่อเทียบกับ Laws of Eshnunna หรือ Law code of Hammurabi ซึ่งมองทาสและสตรีเป็นดั่งทรัพย์สิน แต่ธรรมบัญญัติพัฒนาเรื่อง สิทธิมนุษยชนได้ดีกว่า
- จงมองว่าธรรมบัญญัติเป็นพระวจนะที่ได้รับ “การดลใจ” สำหรับเรา ไม่ใช่ “คำสั่ง” สำหรับเรา
- ธรรมบัญญัติเดิมเป็น “เงา” ที่จะเปิดเผย พันธสัญญาใหม่ให้ชัดเจนขึ้น
(เช่น ฮักกัย โฮเชยา)
- ลักษณะ 4 อย่างของผู้เผยพระวจนะ
1. เป็นคนกลางในการบังคับใช้ธรรมบัญญัติ
2. คำพูดมาจากพระเจ้า
3. เป็นตัวแทนของพระเจ้าและน่านับถือ
4. ไม่ได้พูดสิ่งใหม่ แต่พูดวนเกี่ยวกับธรรมบัญญัติเดิมนั่นแหละ
- กุญแจสู่ความเข้าใจคือ การได้เห็นคำพยากรณ์ของผู้เผยสำเร็จ โดยมองไปยังเวลาที่เป็นอนาคตของพวกเขา (ในอดีต)
- ต้นตอที่ทำให้คนอ่านไม่เข้าใจ คือ เจอแต่คำพูด ไม่ค่อยเจอเรื่องเล่า แล้วพอไม่เข้าใจบริบทเบื้องหลัง = งง ว้อย
- วิธีแก้คือ ทำความเข้าใจบริบท (บริบทประวัติศาสตร์ Timeline ในช่วงนั้น, บริบทเฉพาะของผู้เผยนั้น)
- บางครั้งผู้เขียน พันธสัญญาใหม่ ก็ดึงคำพยากรณ์ใน พันธสัญญาเก่า ไปใช้อย่างผิดบริบทสุดๆ เราเรียกท่านี้ว่า “Sensus plenior” (ความหมายที่สมบูรณ์กว่า)
- เช่น เปาโลเปรียบเทียบหินที่ปล่อยน้ำไหล คือพระคริสต์ // เราในยุคปัจจุบันไม่สามารถสร้าง Sensus plenior ได้อีกแล้ว เพราะจะเป็นการตีความมั่ว ที่คนในอดีตทำได้ เพราะพวกเขาได้รับการดลใจจากพระเจ้า
(ได้แก่ มัทธิว มาระโก ลูกา ยอห์น)
- การบันทึกแต่ละเล่มจึงอาจไม่ตรงกันเป๊ะ เป็นเพราะ พระเยซูพูดอาราเมค แต่คนบันทึกเป็นกรีก นอกจากนี้ ไวยกรณ์ของกรีกมีความยืดหยุ่นสูง มันเลยมีความคลาดเคลื่อนกันบ้าง
- เราสันนิษฐานกันว่า มัทธิว กับ ลูกา ลอกการบ้านมาจากมาระโก (มาระโกทำการบ้านเสร็จก่อนเพื่อน) เพราะเราพบเนื้อหาใน มธ. กับ ลก. ซ้ำกับในมาระโกเยอะมาก ขนาดบางจุดมาระโกใส่ความคิดของตัวเองเข้าไป เราก็ยังพบใน มธ. กับ ลก. ด้วย #คุณครูจับได้แล้วอย่าหักคะแนนหนู
- เนื้อหายอห์น = “อินดี้” ที่สุดล่ะ // ยอห์นจึงน่าจะเป็นผู้เขียนอิสระ แยกออกมาจากเล่มอื่นๆ
- ผู้เขียนแต่ละคน เขียนถึงกลุ่มผู้อ่านต่างกัน บางคนจึงหยิบยกเรื่องราว+ใช้คำพูดที่แตกต่างกัน เพื่อกลุ่มเป้าหมายของตัวเอง
- วิธีอ่านให้เข้าใจคือ อ่านแนวราบ (เล่มที่มีเนื้อหาคู่ขนาน) และอ่านแนวดิ่ง (ค้นหาประวัติศาสตร์ตอนนั้นๆ)
- ในการเขียนพระกิตติคุณ ผู้เขียนมีหลักการ 3 อย่างที่เขาใช้
1. เลือก
ผู้เขียนจะเลือกเฉพาะเรื่องราวที่ตรงกับวัตถุประสงค์ของตนเอง (ยน. 21:25)
2. เรียบเรียง
ผู้เขียนจะจัดลำดับตามที่ตนเห็นว่าลื่นไหลดี
3. ดัดแปลง
ผู้เขียนอาจดัดแปลงเพื่อเน้นจุดที่เขาอยากให้ผู้รับได้ ทั้งนี้ มันช่วยอธิบายข้อมูลที่ไม่ตรงกันในพระกิตติคุณได้ด้วย เช่น การสาปต้นมะเดื่อ (มธ. 21:18-22 และ มก. 11:12-14, 20-25)
(เช่น โรม ยากอบ)
- ถูกเขียนบนกระดาษพาไพรัส (ชื่อต้นไม้)
- ผู้รับมี 2 แบบ
1.คนกลุ่มใหญ่
2.เจาะจงผู้รับ
- ทุกฉบับเกิดขึ้นจากวาระโอกาสในตอนนั้นๆ เสมอ (Occasional Documents) เช่น โครินธ์มีปัญหาเรื่องเพศ จึงเขียนไปอธิบาย
(โดยไม่มีใครเขียนแล้วคิดว่างานเขียนตัวเองจะกลายเป็นหนังสือศาสนศาสตร์ในอนาคต)
- อย่าเพิ่งรีบสร้างศาสนศาสตร์ระบบ จากการอ่านจดหมายฝากฉบับเดียว เพราะจดหมายฝากถูกเขียนเพื่อแก้ปัญหาเฉพาะกิจในตอนนั้นๆ #อย่ามโน
- วิธีการศึกษา Exegesis (ทำความเข้าใจบริบท) = ทำความเข้าใจ “ปัญหา” ของผู้รับจดหมาย (โดยต้องใช้ความพยายามหน่อยนะ เพราะว่าเราเห็นเฉพาะจดหมาย เปาโลไปโครินธ์ แต่เราไม่เห็นจดหมายของโครินธ์ไปเปาโล)
- คำสอนที่ขัดแย้งกันของพระคัมภีร์สามารถใช้ บริบท มาอธิบายได้ เช่น โรม ความรอดไม่ใช่ได้โดยการกระทำ // ยากอบ ความเชื่อต้องมีการกระทำ อ่านผิวเผินก็อาจจะ งง ว่า ตกลงต้องมีการกระทำหรือไม่มีถึงจะรอดเนี่ย? แต่ถ้าดูบริบทของพระคัมภีร์ เราจะพบว่า ผู้อ่านของเปาโล กับ ยากอบ มีปัญหาคนละแบบกัน
- อ่านจดหมายฝากแล้วอาจจะ งง ว่า ตรงไหนต้องประยุกต์ใช้กับวัฒนธรรมปัจจุบันบ้าง มีคำถามหนึ่งที่ Gordon เขาเสนอให้ถาม คือ “ถ้าเราไม่เคยเจอเรื่องนี้ในพระคัมภีร์เลย จะยังเถียงกันอยู่ป่ะ?” เช่น ถ้าเปาโลไม่เคยพูดเรื่อง ผู้หญิงต้องคลุมผ้า เราจะยังเถียงกันอยู่ปะ ว่าผู้หญิงต้องคลุมผ้ามั้ย? นี่คือวิธีการคัดเลือกว่า ถ้าเราไม่เคยคิดจะเถียงกันอ่ะ แปลว่า ไม่ต้องประยุกต์ใช้กับวัฒนธรรมปัจจุบัน
แนวทางตีความ เสนอโดย Gordon D. fee
1. แยกแก่นแท้ของเนื้อหา (เช่น ข่าวประเสริฐ) กับเปลือกนอกที่เสริมเข้ามา (เช่น ธรรมเนียบจุบ)
2. แยกศีลธรรมแท้ (ใช้ได้ทุกวัฒนธรรม) และวัฒนธรรม (สิ่งดีงามที่คนในสังคมยอมรับ)
3. แยกหลักการพระคัมภีร์ และการประยุกต์ใช้ที่เฉพาะบริบท เราควรมุ่งเน้นที่หลักการเท่านั้น
4. ตระหนักความแตกต่างของวัฒนธรรมสมัยนั้นกับตอนนี้
5. ต้องมีการอภิปรายต่อเนื่องเสมอๆ เพราะไม่มีใครถูกตลอด
- หลักการจากพระคัมภีร์มี 2 แบบ
1. บรรทัดฐาน = พระคัมภีร์บอกชัดเจนและมีเจตนาจะสอน (เข้มงวด) ดังนั้น ยุคสมัยไหนก็ต้องทำตาม เช่น รับบัพติสมา เชื่อพระคุณ พระเยซูตาย+ฟื้น
2. ไม่ใช่บรรทัดฐาน = เรื่องปลีกย่อยในพระคัมภีร์รองจากเจตนาหลัก (ผ่อนปรนได้) เช่น บัพติสมาถี่เท่าไหร่ จุ่มหรือพรมดี
- ตีความยากมาก คือ ไม่มีทางตีความแล้วจะทำให้ทุกคนพอใจ
- ส่วนมากเป็นรูปแบบ “วิวรณ์” = การเปิดเผยเนื้อหาที่ซ่อนไว้ จึงใช้สัญลักษณ์ สี ตัวเลข บังความหมายเอาไว้ จึงห้ามตีความตามตัวอักษร
- เราต้องมองหา “บริบท” อยู่เสมอคือ จินตนาการว่า “คนสมัยนั้น” จะเข้าใจความหมายของยอห์นว่าอย่างไร
- เราไม่ควรนำมาประยุกต์เข้ากับเหตุการณ์ในอนาคตของเรา เพราะส่วนใหญ่เป็นเหตุการณ์ที่จบไปแล้ว