เรียนพระคัมภีร์กับพี่ซัน

คริสเตียนใช้ตรรกะกับความเชื่อได้ไหม?

2017-10-30

การเป็น “ผู้เชื่อ” คือ การเชื่อแบบหลับหูหลับตาไม่ใช้สมองหรือเปล่า?
แล้วเราใช้ตรรกะกับความเชื่อได้แค่ไหน?

อยากรู้เลื่อนเบย

Highlights

- Apologetics คืออะไร?
- การใช้ตรรกะจำกัดพระเจ้าได้ยังไง?

- วันนี้พี่ซันขอแนะนำให้น้องรู้จักกับเครื่องมือค้นหาความจริง ที่สำคัญเกือบจะที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ มันเรียกว่า “ตรรกะ”

- ตรรกะ เป็นเครื่องมือสำคัญที่นักปรัชญาผู้มีชื่อเสียงหลายคนใช้หา “คำตอบ” ของทุกคำถาม

- ปัญหาคือ “ตรรกะ” กับ “ความเชื่อ” ดูเหมือนเป็นเรื่องที่ไปกันไม่ค่อยได้
.
.
.
- น้องๆ หลายคนคงคุ้นเคยกับวลีเด็ดในพระธรรมฮีบรูว่า ความเชื่อ = เป็นความแน่ใจในสิ่งที่ “มองไม่เห็น” (ฮบ. 11:1)

- ความเชื่อให้ความสำคัญกับสิ่งที่มองไม่เห็น (สิ่งที่เราอาจไม่เข้าใจเลย) แต่ตรรกะเรียกร้องให้เราใช้หลักฐานที่จับต้องได้และการคิดอย่างเป็นระบบในการค้นหาความจริง

- เพราะแบบนี้ คนใช้ตรรกะที่มีแนวคิดต่อต้านศาสนาหลายคนถึงกับนั่งยันนอนยันว่า ศาสนาคริสต์เป็นเรื่อง “ไร้สาระ” เพราะเรียกร้องให้คนเชื่อโดยไม่มีการค้นหาความจริงอย่างเป็นระบบ

- ในขณะเดียวกัน คริสเตียนหลายคนก็ต่อต้านการใช้ตรรกะกับความเชื่อเพราะกลัวว่าจะเชื่อไม่ได้อย่างสุดใจ

- นี่แหละประเด็น พี่ซันจะชวนมาขบคิดกันทั้ง 2 มุม เพื่อทำความเข้าใจ ไอเครื่องมือที่เรียกว่า “ตรรกะ” นี้ ว่ามันดีกับความเชื่อหรือไม่ แล้วเราจะใช้ตรรกะได้มั้ย?
.
.
.
=== 1. ตรรกะดีต่อใจและดีต่อความเชื่อ ===

- แม้ว่าพระเจ้าจะเรียกร้องให้เราเชื่อในสิ่งที่มองไม่เห็น

- แต่พระคัมภีร์หลายตอน กลับแสดงให้ “เห็น” ว่า ความเชื่อก็มีการผนวกการใช้ความคิดอย่างเป็นระบบเช่นกัน

- ตรรกะช่วยให้เรามีความเชื่อที่เข้มแข็งและชัดเจนได้ เพราะ ก่อนที่ใครสักคนจะมาเชื่อส่วนใหญ่เขาต้องได้ “ฟัง” ข่าวประเสริฐและคำพยานชีวิต (รม. 10:17)

- การ “เห็น” การอัศจรรย์และการสำแดงชีวิตของพี่น้อง ได้ “พิสูจน์” ว่าสิ่งเหล่านั้นเป็นความจริงในชีวิตของเขา (สดด. 34:8, 1 ธส. 5:21-22)

- และหลังเชื่อแล้วก็ต้อง “อธิบาย” ได้ถึงเหตุผลที่มาเชื่อ(ตรรกะที่มาเชื่อ) รวมถึงคำถามอื่นๆ เกี่ยวกับความเชื่อเพื่อประกาศข่าวประเสริฐ (1 ปต. 3:15)

- ดังนั้น คริสเตียนถูกเรียกร้องให้ใช้ตรรกะกับความเชื่อในระดับหนึ่งและการเป็นผู้เชื่อไม่ได้หมายความว่าเราจะต้องหลับหูหลับตาเชื่อแบบไม่ใช้สมอง

- โทมัส อไควนัส บาทหลวงนักปรัชญาเจ้าของผลงานเขียนชื่อดัง Summa Theologica ที่รวบรวมคำอธิบายคำถามด้านความเชื่อและศาสนศาสตร์โดยใช้ “ตรรกะ” เป็นเครื่องมือในการหาคำตอบ มองว่า…

- สติปัญญาเป็นของขวัญที่พระเจ้ามอบให้แก่มนุษย์และหากเราใช้สติปัญญาทำความเข้าใจสิ่งต่างๆ ก็เป็นการถวายเกียรติแด่พระเจ้า

- นอกจากนี้ ทุกวันนี้ก็มีคริสเตียนมากมายที่ใช้ตรรกะเพื่ออธิบายและปกป้องความเชื่อ เราเรียกศาสตร์นี้ว่า Apologetics (ของไทยก็มีนะ ลองดูใน reference)
.
.
.

2. ตรรกะไม่ดีต่อความเชื่อ

- หลายคนอาจบอกว่าการใช้ตรรกะอาจทำให้เราติดนิสัยต้องหาคำอธิบายทุกอย่างเกี่ยวกับพระเจ้า

- และด้วยความจำกัดของมนุษย์ที่ไม่อาจเข้าใจมิติของพระเจ้าได้ การพยายามอธิบายทุกอย่างด้วยตรรกะ จึงอาจเป็นการลดความยิ่งใหญ่ของพระเจ้าลงได้ เพราะพระเจ้าอยู่เหนือแนวคิดของมนุษย์เสมอ (อสย. 55:8-9)

- แม้ว่าตรรกะอาจทำให้เราเข้าใจการมีอยู่ของพระเจ้าหรือศาสนศาสตร์บางส่วนได้ แต่บางโมเมนต์ที่เราเชื่อก็เพราะสิ่งที่ “เกินความเข้าใจ” (ฟป. 4:7) ด้วย

- ถ้าเราไม่เหลือที่ว่างไว้ให้ความเชื่อที่ “เหนือความเข้าใจ” และสงสัยตลอดเวลาว่าสิ่งนี้จะเป็นไปได้หรือไม่ เราอาจไม่ได้สัมผัส “การอัศจรรย์” ในชีวิตจากพระเจ้าเลยก็ได้
.
.
.
- อย่างไรก็ดี การใช้ตรรกะกับความเชื่ออาจเป็นเรื่องดีและไม่ดีได้ ดังนั้นเราต้อง “วางสมดุลให้ดี” มองให้เห็นถึงข้อดีข้อเสียของมัน

-จะได้ไม่เชื่อแบบงมงายและไม่ได้เอาตรรกะมาจำกัดพระเจ้า :)
.
.
# สรุป
-เราสามารถมองตรรกะได้ 2 มุมมอง
1.ตรรกะดีต่อความเชื่อ
เพราะทำให้เรามีความเชื่อที่เข้มแข็งและชัดเจน
2.ตรรกะไม่ดีต่อความเชื่อ
เพราะมิติมนุษย์มีข้อจำกัด ไม่อาจอธิบายพระเจ้าด้วยตรรกะได้ทุกอย่าง
- เราต้องสมดุลการใช้ตรรกะให้ดี จะได้ไม่เชื่อแบบงมงาย และไม่ได้เอาตรรกะมาจำกัดพระเจ้า

References

1. PDF บทความทางวิชาการเกี่ยวกับตรรกะและความเชื่อที่ลงรายละเอียดเจาะลึกพร้อมทฤษฎีเต็มเปี่ยมโดย Apologetics Press
http://apologeticspress.org/pdfs/e-books_pdf/far.pdf

2. เพจ apologetics ของไทย
https://www.facebook.com/ThailandchristianApologetics-1261163400623408

3. ความเชื่อเริ่มต้นเมื่อเราละทิ้งตรรกะ
http://www1.cbn.com/faith-starts-where-logic-fails