“อนิจจัง” เกี่ยวอะไรกับคริสเตียน?
คล้ายๆกับชินจังหรือเปล่า?
แล้วเราจะเรียนรู้อะไรจาก “อนิจจัง” ได้บ้าง?
อยากรู้ เลื่อนไปข้างล่างได้เบย
- เปิดฉากด้วยคำศัพท์นี้กันก่อน
“อนิจจัง” = “ไม่เที่ยง” นั่นคือ ช่วงเช้า ช่วงบ่าย ช่วงค่ำ คือ อนิจจัง
#ตึ่งโป๊ะ #ไปเล่นตรงนู้น
- “นิจจัง” = เที่ยง หมายถึง สิ่งนั้นจะคงอยู่สภาพนั้นตลอดไป ไม่มีการเสื่อมไป
- พอเติมคำว่า ‘อ’ ( =ไม่) เข้าไปกลายเป็น “อนิจจัง” = ไม่เที่ยง หมายถึง สิ่งนั้นจะไม่คงสภาพแบบนั้นตลอดไป มีการเสื่อมไป
- รู้หมือไร่!? ในพระคัมภีร์มีคำว่า “อนิจจัง” กี่คำ…
มี 40 คำเชียวนะเห้ย! มากกว่าคำว่า “ให้อภัย” ซะอีก (อ้างอิงฉบับ 1971)
-ดูเหมือนว่า พระคัมภีร์ให้ความสำคัญกับ “อนิจจัง” และกำลังเตือนสติเราว่าหลายๆสิ่งในโลกล้วนอนิจจังทั้งนั้น เช่น
1. ทรัพย์สมบัติ (สภษ. 23:5)
2. วัยหนุ่มสาว (ปญจ. 11:10 – 12:8)
3. สิ่งของซึ่งมองเห็นได้ (2 คร. 4:16-18)
- สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นของ “อนิจจัง” หมายความว่า มันจะไม่คงสภาพแบบนี้ตลอดไป นั่นคือ ทุกอย่างในโลกที่เรา “มองเห็น” ตอนนี้ซักวันมันก็จะเสื่อมไป
- พี่ซันมองว่า คริสต์กับพุทธ “เห็นตรงกัน” มากในประเด็นนี้ คือ เรา ‘ไม่ควรจะยึดติด’ กับของในโลกนี้มากเกินไป สิ่งที่มองเห็นบนโลกล้วนอนิจจัง
- แต่สิ่งที่ “แตกต่าง” คือ พุทธมองว่า ‘ทุกสิ่งทุกอย่าง’ ล้วนอนิจจังหมด แต่คริสเตียนเราเชื่อว่ามี ‘บางอย่าง’ ที่เป็น “นิรันดร์” (นิจจัง) และเราควรจะยึดถือสิ่งนั้น บางอย่างนั้นคืออะไร
- คริสเตียนเชื่อว่า “พระเจ้า” คือ ผู้ที่เป็น “นิรันดร์” ดังนั้น คนที่เชื่อในพระเจ้า (พระเยซู) ก็จะได้ชีวิตนิรันดร์เช่นกัน (ยน. 13:16)
- ถ้าน้องเป็นคนหนึ่งที่กำลังยึดติดกับอะไรบางอย่างในโลก เช่น น้องอาจอยากได้ เกรด 4.0 / การยอมรับจากเพื่อนๆ จนยอมแลกกับอะไรที่ยั่งยืนอย่าง ชีวิตฝ่ายวิญญาณ/พระพร น้องอาจจะลืมไปว่าของที่มองเห็นในโลกพวกนั้นมัน “อนิจจัง” นะครับ…
- “อนิจจัง” จึงดูเป็นแนวคิดที่เข้าใจแสนจะง่าย แต่ยากที่จะปฏิบัติตาม นั่นสิเพ่! แล้วอย่างนี้ต้องทำยังไงอะ?
- พี่ซันแนะนำอย่างงี้ครับ หนุนใจให้น้องจดจ่อกับสิ่งที่เป็น “นิรันดร์” มากขึ้นครับ ยิ่งเราใช้เวลากับอะไร เราก็ยิ่งเป็นเหมือนสิ่งนั้นครับ
เลือกพระเจ้า / WWJD / อ่านพระคัมภีร์ CBA
“เพราะว่าเราไม่ได้เห็นแก่สิ่งของที่เรามองเห็นอยู่ แต่เห็นแก่สิ่งของที่มองไม่เห็น เพราะว่าสิ่งของซึ่งมองเห็นอยู่นั้นเป็นของไม่ยั่งยืน แต่สิ่งซึ่งมองไม่เห็นนั้นก็ถาวรนิรันดร์”
– 2 คร. 4:18