คำสอนของบางโบสถ์ดูแปลกๆ
แต่แปลกแค่ไหนถึงจะเรียก “สอนผิด”
อยากรู้ เลื่อนไปอ่านโลด
- “ไอคนนั้น สอนผิด” เคยได้ยินประโยคแบบนี้ไหมครัช?
- น้องอาจเคยได้ยิน การวิพากษ์วิจารณ์แบบนี้ แม้ว่าทุกคนจะอ้างพระคัมภีร์เล่มเดียวกันก็ตาม
- แต่จะว่าไป มันต้องผิดร้ายแรงเบอร์ไหน ถึงจะเรียกว่า “เทียมเท็จ” ได้ หรือบางทีเราอาจจะแค่ตีความพระคัมภีร์ไม่เหมือนกันหรือเปล่า?
- พี่ซัน ขอแนะนำให้รู้จักกับ Dogma, Doctrine, Opinion มันคืออะไร?
มาดูกันครัช
.
.
.
- คำสอนมีความเข้มข้น 3 ระดับ
1. Dogma = “แก่นของคริสเตียน” ใครไม่เชื่อตามนี้เรียก “เทียมเท็จ” ได้เลย
(เช่น พระเยซูเป็นพระเจ้า)
2. Doctrine = “หลักข้อเชื่อ” แต่ยังไม่ใช่แก่น อาจจะแตกต่างกันได้อยู่ มักเป็นความแตกต่างของหลักข้อเชื่อนิกาย
(เช่น รับบัพติสมาด้วยการจุ่ม)
3. Opinion = เป็นแค่ “ความคิดเห็น” สามารถคิดต่างกัน แต่อยู่ร่วมกันได้สบายๆ
(เช่น ปัญญาจารย์ = กษัตริย์ซาโลมอน)
.
.
.
- กลับมาตอบคำถามหลัก “แค่ไหนถึงเรียกเทียมเท็จ?” ถ้าลองดูคำศัพท์ 3 คำนี้ แน่นอนว่า การสอนที่ผิดไปจาก Dogma (ระดับสูงสุด) จึงจะเรียกว่า “เทียมเท็จ”
- ดังนั้น เราจะไม่เรียกคนที่เชื่อ วิธีการบัพติสมาด้วยการพรมน้ำ ว่า “เทียมเท็จ” เพราะมันเป็นแค่ Doctrine เท่านั้นเอง
- ซึ่งคริสเตียนไทยส่วนใหญ่ จะถือ 5 Sola เป็น Dogma (5 Sola คืออะไร? อ่านที่นี่ : https://bit.ly/2qlM6LF)
.
.
.
- ทีนี้ ประเด็นสำคัญคือ ไม่ใช่ทุกคนจะถือ Dogma, Doctrine, Opinion เหมือนๆ กัน
- เช่น คำสอนเรื่อง “พระคัมภีร์ไม่มีข้อผิดพลาด” บางคนก็ถือเป็น Dogma บางคนก็ถือเป็น Doctrine แตกต่างกันไป
- หนึ่งในเคสจริงคือ สภาคริสตจักรโลก (WCC) ในปี 1948 มี Dogma แค่ประโยคเดียวคือ “Lord Jesus Christ as God and Saviour” ทำให้บางกลุ่มไม่เข้าร่วม เพราะมองว่ามี Dogma น้อยเกินไป
- จะเห็นได้ว่า
ยิ่งมี Dogma น้อยเท่าไหร่ --> ยิ่ง Liberal (เสรีนิยม)
ยิ่งมี Dogma มากเท่าไหร่ --> ยิ่ง Conservative (อนุรักษ์นิยม)
.
.
.
- ก่อนจากกันไป พี่ซันหนุนใจน้องๆ ลองทำความเข้าใจ Dogma, Doctrine, Opinion ของน้องเองดู ถ้าไม่รู้ก็ถามศิษยาภิบาลที่โบสถ์ของน้องดูนะ
.
.
.
บทความมาจากเนื้อหาตอนหนึ่งในหนังสือ Who need Theology
https://www.amazon.com/Who-Needs-Theology-Invitation-Study/dp/0830818782
อะไรคือความแตกต่างระหว่าง Dogma, Doctrine, Theology (Opinion)
http://www.ncregister.com/blog/jimmy-akin/what-are-dogma-doctrine-and-theology
หลักข้อเชื่อร่วมของสภาคริสตจักร
https://www.oikoumene.org/en/about-us/self-understanding-vision/basis