เราจะเป็นคนดีสม่ำเสมอได้อย่างไร?
“The Lucifer Effect”
มันเป็นเรื่องง่ายมาก ที่คนดีจะทำเรื่องเลวร้าย
เราจะป้องกันปรากฎการณ์นี้ได้ยังไง?
อยากรู้ ต้องเลื่อนลง
- คืองี้ วันก่อนพี่ซันอ่านหนังสือเรื่อง “The Lucifer Effect” โดย Philip Zimbardo พบว่าแนวคิดมันเจ๋งมว๊าก เลยอยากจะแชร์ให้ฟัง
- แนวคิดหลักๆ คือ เป็นเรื่องง่ายมากที่คนดีๆ จะทำเรื่องชั่ว (พลังที่ผลักดันให้ทำความชั่วนี้ เรียกเท่ๆว่า “Lucifer Effect”) #ชื่อโคตรเฟี้ยวเงาะ
- ระหว่างอ่านๆ ไป มันทำให้พี่ซันนึกถึงตอนที่เปาโลบอกว่า “ด้วยว่าการดีนั้นซึ่งข้าพเจ้าปรารถนาทำ ข้าพเจ้าไม่ได้กระทำ แต่การชั่วซึ่งข้าพเจ้ามิได้ปรารถนาทำ ข้าพเจ้ายังทำอยู่” (รม. 7:19)
- คือเปาโลกำลังบ่นว่า แม้เขาตั้งใจจะเป็นคนดีมากแค่ไหน แต่สุดท้ายแล้วเขาก็เจอ Lucifer Effect เข้าไป ทำให้เขากลับไปทำชั่วอีกอยู่ดี
- ว่าแต่ ไอ้ Lucifer Effect นี่มันเป็นยังไง? แล้วเราจะป้องกันมันยังไง?
.
.
.
- ในทางจิตวิทยา “สภาพแวดล้อมรอบข้าง” ล้วนมีผลต่อบุคลิกของเรา เช่น บุคลิกของเราจะเรียบร้อยเมื่ออยู่กับอาจารย์ แต่เมื่ออยู่กับเด็กก็อาจกลายเป็นคนติ๊งต๊อง เป็นต้น
- ทีนี้ ถ้าเราอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ส่งผลให้เรามีบุคลิก “ชั่วร้าย” นั่นก็มีแนวโน้มที่ทำให้เราทำชั่ว เหมือนกับที่เปาโลได้บรรยายไว้
- พูดง่ายๆ ก็คือ ต่อให้น้องเป็นคนดีมาก แต่ถ้าไปอยู่สภาพแวดล้อมดังกล่าว น้องก็อาจทำตัวเป็นปิศาจร้ายได้
- Zimbardo เลยสรุปเอาไว้ว่ามี 3 สภาพแวดล้อมที่อันตรายอย่างยิ่งต่อการที่จะเป็นคนดี
.
.
.
- คือถ้าเราอยู่ในสถานการณ์ที่คนอาจจะไม่รู้ว่าเราเป็นคนทำ และเราไม่ต้องรับผิดชอบผลของการทำชั่วนั้น ก็เป็นเรื่องง่ายมากที่เราอาจจะทำ
- สมมติว่า มีคนลืมของไว้ในที่ๆ ไม่มีคนอยู่ แล้วน้องสามารถหยิบ แบบไม่มีใครจับน้องได้แน่ๆ น้องผู้ซึ่งไม่เคยขโมยมาก่อน อาจจะเริ่มคิดหนักว่าหยิบดีไหมนะ?
- ในพระคัมภีร์ พี่น้องโยเซฟกลายเป็นพวกโหดร้ายสุดๆ ตอนที่ขายโยเซฟ ตอนนั้นไม่มีหลักฐานอะไร แถมพวกเขายังสามารถโบ้ยความผิดให้สัตว์อื่นได้ (ปฐก. 37) แต่ในขณะที่ พวกเขากลับมาจากอียิปต์และมีเงินติดถุงกระสอบกลับมาด้วย พวกเขากลับกลัว เพราะมันมีโอกาสถูกจับได้สูงมาก (ปฐก. 42-43)
- ถ้าเราอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ ผู้ใหญ่/เจ้านาย/ครู/ข้อตกลง สั่งให้เราทำในสิ่งที่ผิด เรามักจะคล้อยตามครับ
- งานวิจัยของ Milgram ให้ครูเซ็นต์ข้อตกลงว่าจะช๊อตไฟฟ้านักเรียน เมื่อเขาทำผิด ดังนั้นครูก็กล้าช๊อตไฟฟ้ามากขึ้น เพราะคิดว่าต้องทำตามกติกา แม้ว่าจะช๊อตแรงมากก็ตาม…
-ในพระคัมภีร์ โยอาบได้มีส่วนในแผนการณ์ฆ่าอุริอาห์อย่างโหดร้าย เพียงแค่เพราะว่าเป็นคำสั่งมาจากดาวิด (2 ซมอ. 11) ถ้าถามว่าโยอาบสนับสนุนการฆ่าอุริอาห์หรอ? ก็ไม่ใช่แน่นอน แต่เพราะเป็นอำนาจมาจากกษัตริย์ เขาจึงโดน Lucifer Effect เข้าไป
- เราสามารถมองว่า ความชั่วเป็นเรื่องถูกต้องได้ง่ายๆ เพียงแค่หาเหตุผลว่า พระคัมภีร์สนับสนุนมันยังไง นี่คือ “การเปลี่ยนกงจักรเป็นดอกบัว”
- ในพระคัมภีร์ นายธรรมศาลาต่อต้านการช่วยเหลือคนในวันสะบาโต เพราะถือว่ามันฝ่าฝืนธรรมบัญญัติ (ลก. 13:10-17)
- เมื่อเราเอาเหตุผลทางพระคัมภีร์ว่า พระเจ้าห้ามทำงานวันสะบาโต เพื่อพิสูจน์ว่า “การไม่ช่วยเหลือคน” (กงจักร) นั้นกลายเป็นสิ่งที่ทำได้ (ดอกบัว) พระเยซูเลยจึงตำหนิ Lucifer Effect แบบนี้อย่างแรง
.
.
.
วิธีที่ช่วยให้เราเป็นคนดีสม่ำเสมอก็คือ เราต้องป้องกัน Lucifer Effect ซึ่งพี่ซันขอเสนอ 3 วิธีง่ายๆ ดังนี้
1. คิดว่าพระเจ้ามองอยู่เสมอ
ถ้าเราขโมยของโดยไม่มีใครเห็น อย่างน้อยการคิดว่าพระเจ้าเห็นนะเว้ย จะช่วยให้เราหลีกเลี่ยงภาวะนี้ได้ (โยบ 34:21)
(พระเจ้าเห็นและเราต้องรับผิดชอบ)
2. มีจุดยืนของตัวเองที่ชัดเจน
ถ้าสิ่งที่ผู้มีอำนาจสั่ง มันขัดกับศีลธรรมของพระเจ้า เราก็ต้องกล้ามีอารยขัดขืน (ดนล. 1:8)
(อย่าให้อำนาจบีบบังคับเราให้ทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง)
3. ตั้งคำถามกับคำสอน
เพื่อให้มั่นใจว่า สิ่งที่เราทำนั้นมันตรงกับน้ำพระทัยพระเจ้าจริงๆ อย่าทำตาม เพียงแค่เพราะว่าศิษยาภิบาลบอกว่ามันอยู่ในพระคัมภีร์
(อย่าเปลี่ยนกงจักรเป็นดอกบัว)
- อย่างไรก็ดี ใช่ว่าน้องจะไม่กลับไปทำบาปอีกเลย เพราะถึงจะไม่มี “Lucifer Effect” เราทุกคนก็ยังเป็นคนบาป แนวคิดจิตวิทยานี้จึงอาจช่วยแค่ครั้งคราวเท่านั้น เพราะยังไงเราทุกคนก็ต้องการพระคุณของพระเยซู :)
.
.
.
ใครอยากอ่านหนังสือเต็ม ซื้อตรงนี้
https://www.amazon.com/Lucifer-Effect-Understanding-Good-People/dp/0812974441
ใครอยากดู TED talk ของ PHilip Zimbardo กดลิ้งนี้เลยจร้า
https://www.ted.com/talks/philip_zimbardo_on_the_psychology_of_evil