เทศกาลที่เฉลิมฉลองกันไปทั่วโลกแอบซ่อนอะไรไว้?
เรื่องที่น้องอาจจะไม่เคยรู้มาก่อน
อยากรู้ล่ะสิ เลื่อนลงเลยจ้า
- ฉลองอีสเตอร์กันมาน๊านนาน แต่มีหลายอย่างที่น้องอาจยังไม่รู้! #วันนี้เป็นวันอีสเตอร์
- ถึงคริสเตียนจะเล่นใหญ่กับการฉลองอีสเตอร์ แต่รู้ไหมว่า ในพระคัมภีร์ไม่มีการฉลองอีสเตอร์เลยด้วยซ้ำ
- เรื่องน่าตกใจต่อมาคือ มีคำว่า “อีสเตอร์” เพียง 1 ครั้ง พบในพระคัมภีร์เวอร์ชั่น King James ในกิจการ 12:4 ซึ่งความหมาย คล้ายคำว่า ปัสกา (Passover) ของชาวยิว #อีสเตอร์กับปัสกาฉลองต่อกันเลยจ้า
- ซึ่งไอ้คำว่า อีสเตอร์ น่าจะมาจากชื่อของเทพเจ้าแห่งฤดูใบไม้ผลิ “Eostre” ของพวกทูโทนิค แสดงถึงฤดูใบไม้ผลิที่พืชพันธุ์กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้งหนึ่งหลังจากร่วงโรยไป
- ก็เลยกลายเป็น Easter ที่ถูกนำมาเปรียบกับการเป็นขึ้นจากความตายของพระเยซู
- อย่างไรก็ดี ความหมาย “ในพจนานุกรม” ไม่สำคัญเท่าความหมาย “ในชีวิต” ของเรา #คมไปอี้ก
.
.
.
=== 2. อีสเตอร์ที่เราฉลองเป็น “คนละวัน” กับวันจริง ===
- จริงๆแล้ว วันอีสเตอร์ที่เราฉลองกันอยู่ทุกปี เป็น “คนละวัน” กับวันที่พระเยซูคืนพระชนม์เมื่อสองพันกว่าปีก่อนนะครับ!
- เมื่อก่อนคริสตจักรฉลองอีสเตอร์ “ไม่ตรงกัน” หลังจากการประชุมสุดยอดผู้นำแห่งไนเซีย จึงเริ่มมีกำหนดการคำนวณวันให้ตรงกันทั่วโลก โดยใช้ระบบจันทรคติ อิงตามช่วงเทศกาลปัสกาให้ใกล้เคียงเวลาตามพระคัมภีร์ที่สุด (พระเยซูถูกตรึงช่วงปัสกาพอดี)
- โดยยึด “วันอาทิตย์แรก” หลังพระจันทร์เต็มดวงของวัน Spring Equinox หรือ วสันตวิษุวัต #อ่านว่าไรฟระ #ลิ้นพันกันทีเดียว ซึ่งคือ “วันที่กลางวันเท่ากับกลางคืน” = วันที่ 21 มีนาคม จ๊ะ
- พูดง่ายๆ คือ วันอีสเตอร์อาจเป็นวันอาทิตย์ไหนก็ได้ ระหว่างวันที่ 22 มีนาคม - 25 เมษายน ขึ้นอยู่กับปีนั้นๆ
- ทั้งหมดนี้จึงเป็นเพียงการคาดเดาที่ “เคลื่อนที่ได้”
- บางโบสถ์เข้มงวดกับการจัดให้ตรงวันมากๆ แม้ว่าจะชนกับวันสงกรานต์ก็ตาม สมาชิกขอร้องให้เลื่อนวัน แต่โบสถ์ก็ไม่แคร์ เพราะคิดว่าอีสเตอร์ต้องจัดให้ตรงวันสิ
- เจอแบบนี้ พี่ซันจะมองบน แล้วคิดในใจว่า “มันไม่ตรงวันแต่แรกอยู่แล้วป๊ะ -,- ”
- ดังนั้น สิ่งสำคัญ คือ “ความหมาย” ไม่ใช่ “ความเป๊ะ” ของวันเวลาจ้า
.
.
.
=== 3. เกิดอะไรขึ้นที่ “อุโมงค์” กันแน่ ? ===
- เหตุการณ์ในวันอีสเตอร์ ถูกเขียนในพระกิตติคุณ 4 เล่ม แต่ความช็อคคือ เนื้อหาไม่เหมือนกันซักเล่ม!
- ตัวอย่างเช่น จำนวนและจุดที่ทูตสวรรค์อยู่ ในมัทธิว 28:2-7 บอกว่านั่งอยู่บนก้อนหินปิดอุโมงค์ แต่ มาระโก 16:5-7 ว่าเห็นทูตสวรรค์ในชุดขาวนั่งอยู่ด้านขวาภายในอุโมงค์ แต่ใน ลูกา กับ ยอห์น กลับเพิ่มทูตสวรรค์เป็นสององค์ซะงั้น #เอ๊ะยังไง?
- หรือแม้กระทั่ง เส้นทางการปรากฏตัวของพระเยซูที่ทำเอาสาวกวิ่งกันวุ่น เพราะพระองค์วาร์ปไปหลายที่ในเวลาไล่เลี่ยกัน #Jumper
- เพราะอะไรมันถึงไม่ตรงกัน?
- โดยสรุปคือ ผู้เขียนพระกิตติคุณแต่ละคนมีการนำเสนอมุมมองแตกต่างกัน เพราะกลุ่มผู้อ่านพระกิตติคุณแต่ละเล่ม ก็ไม่เหมือนกัน บางคนเขียนให้ยิวอ่าน บางคนเขียนให้ต่างชาติอ่าน มันจึงต้องมี “การปรับ” เพื่อให้เหมาะกับกลุ่มผู้อ่าน
- แต่เมื่อนำมุมมองทั้งหลายมารวมกันแล้ว เราไม่ได้พบความขัดแย้งบนหลักข้อเชื่อใหญ่ๆเลย แต่เรากลับได้เห็นมุมมองที่ลึกซึ้งขึ้น
- เช่น ลูกาเขียนเรื่องอธิษฐานเป็นเลือดเพียงคนเดียว มันลึกซึ้งขึ้นยังไง? อ่านบทความของเราก่อนหน้านี้ได้เลย
.
.
.
.
- หัวใจของวันอีสเตอร์จึงไม่ใช่การมานั่ง “งม” หาวันที่ถูกต้อง หรือนั่งจับผิดเหตุการณ์ในพระคัมภีร์ แต่มันคือ การที่น้องตระหนักได้ถึง “ชัยชนะ” ของพระเยซูครับ
- มาร่วมฉลองชัยชนะอันยิ่งใหญ่ของพระเยซูอย่างมี “ความหมาย” กันนะคร้าบ สุขสันต์วันอีสเตอร์ครับ!
บทความเรื่องพระกิตติคุณและการฟิ้นคืนพระชนม์ของพระเยซู มีการทำเป็นภาพอธิบายด้วยนะครับ เข้าใจง่ายสุดๆ
https://answersingenesis.org/jesus-christ/resurrection/christs-resurrection-four-accounts-one-reality/
เว็บไซต์นี้จะช่วยเรื่องการคำนวณวันอีสเตอร์ และเทศกาลอื่นๆ
https://www.timeanddate.com/calendar/determining-easter-date.html
บทความเรื่องคำว่า "อีสเตอร์" ในพระคัมภีร์
https://blog.logos.com/2016/03/is-the-word-easter-in-the-bible/