อ่านให้จบ แล้วลองตอบดูว่า
โบสถ์น้องเชื่อสายไหน
“นี่เป็นกายของเรา”
- แค่ประโยคสั้นๆ นี้ประโยคเดียวของพระเยซู ก็ทำให้คริสเตียนรุ่นใหญ่ทะเลาะกันใหญ่โต จนแตกเป็นหลายฝ่าย หลายคณะ
- เพราะต้องมานั่งคุยกันว่า ตกลงพระเยซูหมายถึง ขนมปังนี่เป็นกายของพระองค์จริงๆ หรือแค่ขำๆ
- บ้างก็เชื่อว่ามันคือกายพระเยซูจริงๆ บ้างก็เชื่อว่าแค่เป็นสัญลักษณ์ บ้างก็กินเอาอร่อย #หื้มมมม
- บทความนี้ พี่ซันจึงจะมาพูดถึง 4 สายเกี่ยวกับพิธีมหาสนิท ว่ามีใครเชื่อแบบไหนบ้าง?
.
.
.
=== 1. ทฤษฎีการแปรสาร (Transubstantiation) ===
- สายนี้ขอบอกเลยว่า ขนมปังและเหล้าองุ่นที่เรากิน มันเป็นเลือดเนื้อของพระเยซูจริงๆ นะ
- ด้วยกระบวนการมหัศจรรย์บางอย่างทำให้สสารข้างใน เปลี่ยนเป็นเลือดเนื้อของพระเยซูจริงๆ (ในขณะที่รสชาติ และลักษณะข้างนอกดูเหมือนเดิม)
- โดยทฤษฎีนี้ ยึดประโยคตามตัวอักษรที่ว่า “นี่คือกาย/โลหิต ของเรา” (มธ. 26:26, 28 /มก. 14:22,24 /ลก. 22:19,20 /1 คร. 11:24)
- หลายคนเลยสงสัยว่า อ่าวเห้ย แล้วมันเปลี่ยนตอนไหน? มันทำมาจากแป้งชัดๆ ไม่ใช่ร่างกายพระเยซูซะหน่อย
- เรื่องมันเป็นแบบนี้ ฝั่งคาทอลิกเชื่อว่า ภายในพิธี เมื่อบาทหลวงได้ทำการเสก (Blessed) หรืออธิษฐานขอพรสำหรับขนมปังและเหล้าองุ่นแล้ว แต่น แต๊น แต้น … สสารของขนมปังและเหล้าองุ่นก็กลายเป็นเลือดเนื้อพระเยซูฉับพลัน
- ในขณะที่ ฝั่งออโธดอกซ์ ไม่ได้อธิบายว่าความมหัศจรรย์นี้เกิดขึ้นได้ยังไง รู้แต่ว่ามันน่าจะเป็นพลังเหนือธรรมชาติ (Mystery)
.
.
.
=== 2. ทฤษฎีการร่วมสาร (Consubstantiation) ===
- สายนี้เสนอว่า ขนมปังไม่ได้เปลี่ยนสสารข้างในหรอก แต่เป็นการ “เพิ่ม” เข้ามาต่างหาก (ไอเดียนี้ถูกเสนอโดย มาร์ติน ลูเธอร์)
- ถ้าเอาประโยคของลูเธอร์แบบเป๊ะๆ ก็คือ “IN and WITH and UNDER it” #ขอบคุณที่ทำให้งงกว่าเดิม
- พูดง่ายๆ ก็คือ เนื้อพระเยซูไปอยู่ตรงขนมปังจริงๆ โดยไปอยู่ตรงข้างใน (in) รอบๆ (with) และข้างใต้ (under)
- ลูเธอร์ให้ภาพเปรียบเทียบว่า เหมือนเราเอาท่อนเหล็กไปเผาไฟ มันจะกลายเป็นท่อนเหล็กร้อนแรง แต่ความร้อนกับเหล็กก็ยังแยกจากกันอยู่ดี
- ก็คือ ขนมปังกับเนื้อพระเยซูอยู่ด้วยกันแล้ว แต่ก็ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน
- ถ้าถามว่า การเพิ่มท๊อปปิ้งเนื้อพระเยซูเข้ามาที่ขนมปังนี้ เกิดขึ้นได้ยังไง? สายนี้ก็จะบอกว่า มันเป็นพลังของพระเยซูไง
.
.
.
=== 3. ทฤษฎีการจดจำรำลึก (Memorial View) ===
- สายนี้จะบอกว่า สิ่งที่พระเยซูพูดนั้นเป็นแค่ “สัญลักษณ์” เท่านั้นเอง
- พิธีมหาสนิท เป็นการคิดถึงการตายของพระเยซูเท่านั้น ไม่ได้เป็นเลือดเนื้อจริงๆ ซักหน่อย (ยน. 6:63)
- โดยทฏษฎีนี้ยึดประโยคที่ว่า “จงทำอย่างนี้เพื่อเป็นที่ระลึกถึงเรา” ไว้เป็นหลัก (ลก. 22:19)
- ไอเดียนี้นำเสนอโดย คนชื่อ สวิงลี่ ซึ่งทะเลาะทุบโต๊ะกับ ลูเธอร์ จนทำให้คริสเตียนต้องแตกคณะนิกายแบบหมอไม่รับเย็บ
.
.
.
=== 4. ทฤษฎีการปรากฏฝ่ายวิญญาณ (Spiritual Presence) ===
- สายนี้เชื่อว่า พระเยซูไม่ได้มาปรากฎในแง่ “กายภาพ” แต่มาด้าน “วิญญาณ”
- โดยคนชื่อ จอห์น คาลวิน (นักศาสนศาสตร์ตัวพ่อ) พยายามคิดทฤษฎีที่อยู่เป็นกลาง ระหว่างทฤษฎี 2 กับ 3 เพื่อความสมานฉันท์ จึงเกิดเป็นไอเดียนี้ขึ้นมา
- แม้มันจะดูใกล้เคียงกับ Memrorial View (ทฤษฎีที่ 3) แต่เพิ่มเติมคือ มันไม่ใช่แค่สัญลักษณ์ การที่เรากินขนมปังนั้น เป็นการกินร่วมกับวิญญาณของพระเยซูจริงๆ (ไม่ใช่แค่คิดถึง) และร่วมกับผู้เชื่อทั้งหมดในโลกใบนี้
- ซึ่งพระวิญญาณบริสุทธิ์ที่อยู่กับเรา เป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้พิธีมหาสนิทนี้มีความหมายลึกซึ้ง
.
.
.
- โบสถ์น้องเชื่อสายไหนกันบ้าง? คอมเม้นเล่าให้ฟังหน่อยเร้ว
1.
http://christianityinview.com/eucharist.html
2.
http://www.twoagespilgrims.com/pasigucrc/2012/05/03/four-views-of-the-lords-supper/
3.
https://en.wikipedia.org/wiki/Real_presence_of_Christ_in_the_Eucharist